วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชําแหละ P/E Ratio


ในการวัดมูลค่าหุ้นนั้นมีอยู่ด้วยกันหลักๆอยู่2วิธี คือ Discounting model กับ Relative model วิธีDiscountingนั้นก็คือวิธีที่ใช้วัดมูลค่าบริษัทจากกระแสเงินสด ที่เรียกกันว่า Discount cash flow model กับ วัดมูลค่าจากเงินปันผลจ่าย ซึ่งก็คือDividend discounted model ส่วน วิธี Relative ก็คือการวัดมูลค่าหุ้นเชิงเปรียบเทียบโดยใช้อัตราส่วนๆที่นิยมใช้กันก็คือ P/E P/BV ratio ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงวิธีประเมิณหุ้นด้วย P/E เพราะว่าP/E นั้นเป็นอัตราส่วนที่บอกว่า ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคานี้มันจะคืนทุนเรากี่ปี อีกทั้งP/Eนั้นเต็มไปด้วยหลุมพราง ก่อนนําอัตราส่วนนี้มาใช้ต้องทําการปรับปรุงตัวเลขก่อนครับ ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถหาค่าอัตราส่วนนี้ได้จากหนังสือพิมพ์หรือ websiteของ settrade นะครับ แต่ดูได้คร่าวๆเท่านั้นเพราะมันไม่ใช่ตัวเลขที่ถูกต้องครับ ทําไมผมถึงบอกว่าไม่ถูกต้องเพราะค่าeps (กําไรต่อหุ้นสามัญ)ในP/Eนั้นเป็นกําไรต่อหุ้นที่ยังไม่ได้มีการปรับให้เหมาะสมครับ ถ้าผู้อ่านๆหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับแล้วลองสังเกตุดีๆก็จะพบว่าหนังสือพิมพ์ต่างสํานักพิมพ์และหุ้นตัวเดียวกันทําไมหนังสือพิมพ์ถึงให้ค่าP/E ratioที่ต่างกันหละครับ ก่อนอื่นผมจะพูดถึงแบบของP/E ratio ผมเชื่อว่ายังมีผู้อ่านอีกมากที่ไม่ทราบว่าP/Eนั้นมีหลายแบบ หลังจากนั้นจะกล่าวถึงวิธีการปรับค่าครับและใช้ P/E โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ 3 แบบครับ

แบบที่ 1 เรียกว่า Current P/E ซึ่งก็คือ ราคาหุ้นในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิต่อหุ้นของปีล่าสุด

ซึ่งอัตราส่วนนี้มักจะพบในหนังสือพิมพ์ และต่างสํานักพิมพ์ก็อาจจะให้ค่าต่างกันเพราะว่าบางสํานักพิมพ์เค้าอาจจะปรับeps มาให้แล้วแต่บางก็ไม่ปรับ เห็นอย่างนี้แล้วเราต้องทําการปรับปรุงตัวeps เองครับCurrent P/Eนั้นค่อนข้างจะล้าสมัยเนื่องจากตัว eps เป็นกําไรในอดีตซึ่งจะทําให้หุ้นที่กําลังมีกําไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีค่าP/Eที่ดูตํ่าเกินไป ในขณะหุ้นที่มีกําไรสุทธิลดลงอย่างรวดเร็วมีค่าP/Eดูสูงเกินไป ต่อมาจึงมีคนปรับตัวเลขนี้ให้เป็น

แบบที่2 คือ Trailing 12 month P/E ซึ่งหาได้จากราคาในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิของ4ไตรมาสล่าสุดเช่น ราคาหุ้นของเราอยู่ 100 บาท และ ขณะนี้ก็เป็นเดือนสิงหาคม เราก็นํา กําไรสุทธิของไตรมาส 3 4 ปีที่แล้วมา ก็จะได้ 5 7 และก็นํากําไรสุทธิของไตรมาส 1 2ปีนี้มา เช่น 3 5 นํามาบวกกัน 5+7+3+5ก็จะได้ 20บาทต่อหุ้นแล้วนํา100หาร20ก็จะได้ P/Eที่ 5 เท่า จึงทําให้ค่า P/Eชนิดนี้ทันสมัยมากกว่าCurrent P/Eแต่ทั้งนี้P/Eที่เราหาได้ก็มีจุดอ่อนที่สําคัญมากก็คือเป็น P/Eที่เราคิดมาจากepsที่เป็นอดีต ซึ่งepsที่เป็นอนาคตไม่จําเป็นต้องได้เท่ากับอดีตเพราะอาจได้มากกว่าหรือน้อยกว่าก็เป็นได้ทั้งนี้ การลงทุนนั้นเราลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในอนาคตไม่ใช่อดีต เราจึงควรที่ใช้ eps อีกแบบคือ

แบบที่ 3 คือ Forward P/E ซึ่งคํานวณมาจากราคาในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิในอนาคตที่ตลาดคาดการณ์

ซึ่งก็คือกําไรสุทธิในปีถัดไป ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักได้ทําการประมาณการเอาไว้แล้ว หรือหากเราลงทุนในบริษัทที่ยังไม่มีบทวิเคราะห์ ก็ให้ผู้อ่านประมาณอัตราการเติบโตในปีถัดไปจากการเติบโตแบบทบต้น

ของกําไรต่อหุ้นในอดีตเช่น 3ปีที่ผ่านมาโตแบบทบต้น 25% และกําไรปีล่าสุดก็คือ 1 บาทเราก็พยากรณ์ว่า

ปีถัดไปกําไรต่อหุ้นก็น่าจะราวๆ1.25 บาท ทั้งนี้ผู้อ่านต้องเข้าใจธุรกิจที่เราลงทุนเป็นอย่างดีจึงจะประมาณได้ใกล้เคียง เพราะบางอุตสาหกรรมที่เป็นcycle นั้นกําไรในปีถัดไปอาจลดลงก็ได้เมื่ออุตสาหกรรมผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว

เรื่องนี้ต้องระวังนะครับ

ตอนนี้คงรู้แล้วว่าP/Eมีหลายแบบ ต่อไปผมจะพูดถึงการปรับค่าeps ซึ่งเรามักจะพบตัวเลขนี้ในBottom line ของงบกําไรขาดทุน ซึ่งก่อนที่เราจะนํามาใช้ ให้เราทําการตรวจดูว่าบริษัทที่เราสนใจนั้นมีการเพิ่มทุนโดยออกwarrantอยู่หรือไม่ เช่น มีหุ้นสามัญอยู่ 800 ล้านหุ้น และออกwarrant ด้วย

แต่เมื่อใช้สิทธิแปลงwarrantทั้งหมดแล้วจะได้ 200 ล้านหุ้นสามัญ หากเป็นเช่นนี้หุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทจึงไม่ใช่ 800 ล้านหุ้นแต่ะจะเป็น 1000ล้านหุ้นสามัญ ซึ่งจะส่งผลให้กําไรต่อหุ้นเจือจางลงเพราะตัวหารเพิ่มขึ้นครับ

ต่อมาเราจะปรับepsโดยดูว่าบริษัทนั้นมีรายได้ กําไร รวมถึงค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่ปกติรวมอยู่ด้วยหรือไม่ เช่น ไฟใหม้ หรือ กําไร จากการขายสินทรัพย์ถาวร และให้ปรับปรุงepsด้วยการ หัก รายได้ กําไร ที่ไม่เกิดขึนบ่อย และ บวก ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย กลับเข้าไปในกําไรสุทธิ เราปรับเช่นนี้เพื่อที่จะเราจะได้ค่ากําไรที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของบริษัทในสภาวะปกติ หลังจากเราทําการปรับปรุงตัวเลขกําไรสุทธิแล้วเราก็นํามาหารจํานวนหุ้นทั้งหมดที่รวมหุ้นจากการใช้สิทธ์แปลงสภาพแล้ว เราก็จะได้กําไรต่อหุ้นที่ควรจะเป็นซึ่งบางบริษัทที่ออกwarrantเยอะๆพอเราปรับตัวเลขแล้วค่าP/Eที่ได้ หลังจากปรับจะมีค่าสูงขึ้นมากจากก่อนปรับเพราะว่าก่อนปรับเรายังไม่ได้รวมwarrantเข้าไปนั่นเองครับ

ทีนี้พอเราได้ค่าP/Eมาแล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าถูกหรือ แพง ซึ่งผมเคยกล่าวไว้แล้วในบทความงบกระแสเงินสดแล้วว่า P/Eตํ่าไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไปหรือP/Eสูงก็ไม่ได้แปลว่าแพงเสมอไปหุ้นบางตัว P/Eตํ่ามันก็ตํ่าของมันอยู่แบบนั้นผ่านไป กี่ปีก็ตํ่า หรือ สูงก็สูงตลอด เช่นหุ้นที่ P/Eสูงๆ17 เท่า ก็เพราะว่ากําไรของมันเติบโตขึ้นตลอดพอกําไรโตราคาหุ้นก็จะเพิ่มตามและเพลอๆแซงตัวepsไป

ก็ทําให้ P/Eมันสูงอยู่แบบนั้นตลอดตราบเท่าที่มันยังโต กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับหุ้นที่ P/Eตํ่าตลอดแต่หากตรึงค่า Pเอาไว้แล้ว eps เราโตเรื่อยๆ P/Eของเราก็จะลดลง นี่คือปัญหาคร่าวๆที่เกิดกับการใช้P/E

จึงมีเซียนหุ้นท่านนึงนามว่า Peter Lynch เสนอให้ใช้ค่า PEG ซึ่งก็คือ P/E หารด้วย Growth ในอนาคต

ของบริษัทเช่น P/E 15 เท่าและ Growth 20 % เราก็จะได้ค่าPEGที่ 0.75 ซึ่งหมายความว่าถ้าค่าตํ่ากว่า1ก็แปลว่าถูกเมื่อเทียบกับการเติบโตของกําไร PEGจึงเป็นอัตราส่วนที่ผู้อ่านควรใช้ควบคู่กับP/Eครับและหากเราอยากรู้ว่าผลตอบแทนเบื้องต้นเป็นเท่าใหร่ก็ใช้ค่า EP ก็คือ P/Eกลับหัว ตัวอย่างเช่น ราคาหุ้น 100 บาท eps 20 บาท เราจะได้ค่าepเท่ากับ 20% หรือ P/E ที่ 5 เท่า นั่นเองและเราไม่ควรนําP/Eของบริษัทเรามาเทียบกับค่าP/Eเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเพราะว่าบริษัทแต่ละบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนที่ต่างกันนั่นเอง แต่เราสามารถเทียบกับบริษัทที่ดําเนินกิจการคล้ายๆหรือเหมือนกับของเราได้ เช่นเทียบหุ้น centel กับ mint เนื่องจากดําเนินกิจการเหมือนๆกันและโครงสร้างเงินทุนก็ยังคล้ายกันอีก

สรุปแล้วการวัดมูลค่าหุ้นโดยใช้P/E ควรทําการปรับปรุงตัวเลขทุกครั้ง และไม่ควรใช้P/Eตัวเดียวโดดๆ

แต่ควรวิเคราะห์ทั้งธุรกิจและงบการเงินให้ทะลุแบบถ่องแท้และจากนั้นจึงใช้P/E ratio และ P/BV เพื่อเปรียบเทียบความถูกความแพงของหุ้นที่เราสนใจกับบริษัทที่มีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกันและมีโครงสร้างเงินทุนคล้ายๆกัน ทั้งนี้เราต้องมีความรู้ในธุรกิจที่เรากําลังจะลงทุนดีจึงจะสามาถบอกได้ว่า P/E ถูกหรือแพงครับไม่มีกฎตายตัวบอกว่าP/Eที่ถูก หรือ แพง ควรจะเป็นเท่าใหร่เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ เราจึงควรรู้ซึ๊งในธุรกิจที่เราลงทุนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น