วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เฮียไพโรจน์คุยเรื่องหุ้น




นํามาจาก Pantip.com นะครับ ไว้อ่านขําๆช่วงหุ้นตกกันครับจะได้ยิ้มกันบ้าง ถ้าไม่ชัดก็ Click ที่รูป ครับ จะมีแว่นขยาย หรือ Save As มาดูที่เครื่องครับ ชัดแน่ ครับ พี่น้อง


วิธีหา Growth จาก ROE

ผม Update ไม่ค่อยเป็นเวลานะครับ ถ้ายุ่งๆก็ไม่มีเวลา ช่วงนี้ตลาดมีปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งจากเรื่องการเมืองในประเทศและ หนี้ Greece ทำให้ Set Index อยู่แถวๆ 1013 จุด ปรับตัวลงเป็นระยะๆ จนหลุด EMA 5 10 Weeks ไป 2 Weeks แล้ว ใครขาดทุน หรือ ขาดทุนกำไรก็ขออย่าคิดมากครับ เรายังต้องเจอ สภาพตลาด ผันผวนแบบนี้ ตลอดตราบเท่าที่เรายังอยู่ใน ตลาดหุ้นครับ

ผมเองก็เป็นนักลงทุนรายย่อยๆไม่ใช่เซียนอะไรแต่ผมมีมุมมองที่ว่าช่วง ที่เราหาหุ้น ดีๆลงทุนไม่ได้นั้นเราควรที่จะหาความรู้ให้ได้มากๆ เพราะเมื่อฝีมือเราดี วิสัยทัศน์ เรามองโอกาศออก เงินทองจะตามมาเองครับ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ วินัยในการลงทุนครับ เล่นหุ้นทุกวิธีทำเงินได้ ขอให้มีวินัย ใครตั้งใจจะCut Loss ก็ควร Cut เมื่อถึงจุดที่กำหนด หรือ เราวิเคราะห์พลาด เพราะถือว่าเราซื้อประกันความเสี่ยงครับในเมื่อเรายังมี เงิน อยู่ซึ่งเปรียบเสมือนเรามี กระสุนอยู่พร้อมจะยิงเมื่อโอกาส มา

ยิ่งหุ้นขาลงหรือ ปรับฐานนั้นเป็นโอกาสให้ เห้นหุ้นที่ มี Margin of Safety มากขึ้น และ Margin of Safety ที่ดีที่สุดสำหรับผม นอกจาก ส่วนต่าง ราคากับ มูลค่าที่แท้จริง แล้วคือ Growth ของ กิจการครับ วิธีการ หา Growth ก็มีหลายวิธีครับ วันนี้จะเสนอ วิธี พื้นๆง่ายๆ ไว้ช่วย หา Growth คือ หาจาก ROE ครับ

Return On Equity หรือ ROE นั้น สูตร คือ กำไรสุทธิ/ ส่วนของผู้ถือหุ้น X 100 ครับจะบอกถึงความสามารถในการนำเงินลงทุนของเจ้าของว่านำเงินไปลงทุน ทำธุรกิจแล้วได้ผลกำไรกลับมาเท่าไหร่

เช่น กำไรสุทธิ 20 ล้าน ส่วนของ ผู้ถือหุ้น 100 ล้าน ก็ ได้ 20% ครับ ที่นี้เรานำมา Growth ได้เมื่อเราทราบ อัตราการจ่าย เงินปันผลครับ เช่น บริษัท จ่าย ปันผล 40% ของ กำไรสุทธิคือ Payout Ratio 40% นั่นเอง หมายความว่ากำไรสะสมอีก 60% ที่จะนำไปขยายกิจการต่อ

เราก็นำ ROE คือ 20% มา คูณ 60% Growth = 20 X0.6= 12% ครับ

หมายความว่า ถ้า CEO แจ้งคุยออกสือ TV รายการ หรือ หนังสือพิมพ์ ว่า กำไรจะโต 30% หรือ 40% เราก็พอใช้ตรรกะดูความเป็นไปได้ๆแล้วครับ ว่าที่CEO พูดนั้นมีความเป็นจริงแค่ ไหน ครับ เพราะจาก ผลตอบแทนที่เป็นอยู่หลายๆปี แล้วนำกำไรสะสม ไปต่อยอด ด้วยความสามารถ ROE แค่นั้นมันจะทำให้กำไรสะสมงอกขึ้นมาอีกเท่าไหร่ซึ่งก็คือ Growth Rate นั่นเอง ครับ

วิธีนี้จริงๆเหมาะกับบริษัท ที่มี ROE สม่ำเสมอครับ พอคาดการณ์ค่าเฉลี่ย ROE ได้ครับ

หมายเหตุ วิธี หาGrowth จาก ROE นั้นไม่ได้คำนึงถึงการกู้เงินมาลงทุนนะครับเพราะบางบริษัทใช้Leverage ก็อาจสร้างผลตอบแทนได้สูงตามที่เค้าบอกได้ครับ

หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์หุ้น เชิง คุณภาพ Qualitative Analysis

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการลงทุนทุกครั้ง ในการมองเชิงคุณภาพนั้นจะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่ายครับ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพนั้นผู้วิเคราะห์ต้องมีวิสัยทัศน์และความรู้กับ Product Industry Corporate Governance ของบริษัทที่เราสนใจนั้นพอสมควร และจุดที่ผมกล่าวถึงนี้แหละคือความยากเพราะวิสัยทัศน์เกิดจากการสะสมประสบการณ์ในการวิเคราะห์ธุรกิจ ก่อนที่เราจะวิเคราะห์เชิงคุณภาพเราต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ Product ของบริษัทที่เราสนใจลงทุน หากเป็นบริษัทที่ขายสินค้าจำพวก อุปโภคบริโภค เช่น มาม่า Pepsi ชาเขียว เราก็สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้ตาม Supermarket หรือท้องตลาดดูว่าคนจับจ่ายมากน้อยขนาดใหน หรือ เวลาโฆษณาในTVดูว่าโฆษณาที่ออกไปแล้วชวนให้เราเชื่อในคุณภาพของ Product ได้ขนาดใหน ถ้าโฆษณาแล้วมีผลต่อ Consumer Perception ในทางบวกคือดูแล้วน่าใช้น่าซื้อข้อนี้ก็อาจทำให้ Product ติดตลาดหรือยอดโตได้ อีกวิธีที่ผมใช้บ่อยๆคือการสังเกตุ เช่น ช่วงที่ชาเขียวบูมถ้าสังเกตุดีๆจะพบชาเขียวอยู่เต็มถังขยะ และ ถ้าดูที่ขวดเราก็จะพบว่าวันหมดอายุนั้นยาวกว่าช่วงที่ยังไม่บูมและการจัดวางสินค้าตามร้าน Supermarket ก็จะนำชาเขียวมาวางไว้ในระดับสายตาเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย ข้อมูลเหล่านี้เราจะได้มาต่อเมื่อเราเป็นคนช่างสังเกตุครับ อีกแหล่งที่รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Product เราไว้ดีมากก็คือตามนิตยสาร เพราะบางที Product ที่เราสนใจมักจะโฆษณาตามนิตยสาร หรือ มีบทความเกี่ยวกับ Product ตัวนั้นอยู่ครับ และเอกสาร 56-1 ก็รวบรวมลักษณะของProductไว้ละเอียดในระดับหนึ่ง เราสามารถ Download ได้จากเว็บของ ก.ล.ต ที่ www.sec.or.th ครับ

หลังจากที่เราทราบข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับ Product ที่เราสนใจเราก็เริ่มทำการวิเคราะห์โดยที่ใช้ความเป็นกลางให้มากที่สุดและใช้ความเห็นส่วนบุคคลให้น้อยที่สุด เช่น หากเราชอบดื่มน้ำผลไม้ยี่ห้อหนึ่งและเราคิดว่าน้ำผลไม้ยี่ห้อนี้ต้องขายดีเพราะเรายังชอบเลย แต่ในความเป็นจริงนั้นบริษัทอาจประสบภาวะขอดขายตกอยู่ก็ได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อให้เรามองลงไปถึงโครงสร้างการแข่งขันของอุตสาหกรรมและกลยุทธ์หรือตำแหน่งทางธุรกิจของบริษัทด้วย เพราะเรากำลังมองหาธุรกิจที่มี ความได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืนหรือที่เรียกกันว่า “ Durable Competitive Advantages

คนที่คิดวิธีวิเคราะห์ได้ดีที่สุดผมคิดว่าคือศาสตราจารย์ ไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ตำราเรื่องกลยุทธ์ในการแข่งขันของพอร์ตเตอร์นั้นบอกว่าการที่เราจะดูว่าอุตสาหกรรมไหนจะมีการแข่งขันมากน้อยเพียงใดและจะส่งผลต่อความสามารถหรือศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจขนาดใหนเราจะต้องพิจารณาถึงพลังผลักดัน 5 ประการ หรือ ที่เรียกว่า “5 FORCES”

พลัง 5 ประการนั้นประกอบด้วย

พลังแรกก็คือ การคุกคามจากบริษัทหน้าใหม่ที่เข้ามาขายสินค้าหรือบริการแข่งกับผู้เล่นเดิมในอุตสาหกรรม หัวใจของพลังข้อนี้ก็คือถ้าธุรกิจนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ใคร ๆ ก็เข้ามาขายสินค้าแข่งได้ง่าย โอกาสที่ราคาขายจะลดลงก็มีสูง และการทำกำไรดีต่อเนื่องก็ทำได้ยากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือ ชาเขียว เมื่อชาเขียวของ OISHI ขายดีเนื่องจากการทำ Spider Marketing ของเจ้าของก็ดึงดูดให้หลายบริษัทที่มีกำลังการผลิตเหลือ หรือ ไม่มีความ

พร้อมก็ตาม กระโจนเข้ามาลงทุนในธุรกิจชาขียว พอเข้ามากันมากๆเข้าก็ส่งผลให้กำไรของทุกคนลดลงเนื่องจากตัวหารมากขึ้นนั่นเอง ณ ปัจจุบันถ้าเราเข้า Supermarket เราจะพบชาเขียวหลากยี่ห้อและมีจำนวนเต็มเกือบทุกแถว

ในฐานะของ Value Investor เราอยากจะได้ธุรกิจที่มีขวากหนามกั้นสูงคือไม่ใช่ใครจะเข้ามาทำก็ได้

ฉะนั้น Product ควรจะมีเอกลักษณ์พิเศษ เช่น Pond the Ring ของ Mr.Donut ที่เนื้อแป้งมีความ

เหนี๋ยวนุ่มและถ้าเราสังเกตุดีๆเด็กที่เข้ามาทำงานในร้านแล้วลาออกไป คงมีไม่น้อยที่อยากจะเปิดร้านขาย Pond The Ring ของตนเองแต่ทำไมเรายังไม่เห็นใครเปิดเลยหละครับ ก็เพราะว่าวัตถุดิบที่ทำ Pond the Ring นั้นต้องสั่งจากต่างประเทศเท่านั้นแล้ว Supplier วัตถุดิบก็เซ็นต์สัญญาว่าจะขายให้กับบริษัทที่เป็นลูกค้ารายเดียวเท่านั้นครับ จะเรียกว่าระบบควบคุมภายในเค้าดีมากทีเดียวครับ

นอกจากลักษณะเฉพาะของ

พลังที่สองก็คือภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม หากเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันในอุตสาหกรรมสูงก็จะส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัทได้และจะแย่ยิ่งไปกว่านี้ ถ้าเป็นการแข่งขันทางด้านราคาเพราะบริษัทจะยิ่งแข่งกันลดราคาเพื่อรักษา Market Share และส่งผลให้กำไรโดยรวมของบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นลดลง ธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ก็เช่น ธุรกิจ เหล็ก รับเหมาก่อสร้าง หลักทรัพย์ หรือ จำพวกกลุ่ม Commodities ผู้ที่จะทำกำไรหรืออยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้ก็เห็นจะเป็นผู้ที่มี ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และ มี ต้นทุนต่ำสุด เพราะธุรกิจจำพวก Commodities นั้นราคาสินค้าจะเป็นไปตามราคาตลาดเรียกว่าเป็นไปตาม Demand Supply ผู้ผลิตมีอำนาจในการกำหนดราคาได้น้อย ฉะนั้นบริษัทจะกำไรได้ต้องมีการควบคุมต้นทุนที่ดีเยี่ยมและ TQM ที่ดีจึงจะทำให้ต้นทุนรวมต่ำกว่าผู้อื่นนั่นก็หมายถึง Profit Margin ที่สูงขึ้นนั่นเอง จากเหตุผลที่ผมกล่าวมาผมว่าถ้าเราไม่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงจริงๆเราควรเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่เข้าข่ายอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ครับProduct แล้วเรายังอยากได้ธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงมากหรือธุรกิจที่มีขวากหนามจากภาครัฐ เช่น ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มของ สัมปทาน เช่น การทำเหมือง หรือ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ หรือ ดาวเทียม ก็ตาม จะมีผู้ค้าเพียงแค่รายเดียว และ ธุรกิจที่ต้องอาศัย Brand Loyalty ก็น่าสนใจมิใช่น้อย เช่น ธุรกิจชุดชั้นในผู้หญิง หรือ บะหมี่สำเร็จรูป ก็ตามครับ

พลังที่สามก็คือ สินค้าทดแทน เพราะว่าถึงแม้บริษัทจะผ่านข้อ 1 และ 2 ก็ตามแต่ถ้าไม่ผ่าน ข้อ 3 เยอะละก็

ความได้เปรียบในการแข่งขันก็จะลดลงทันที ธุรกิจที่มีสินค้าทนแทน ก็เช่น ธุรกิจเครื่องดื่มทั้งหลาย ตั้งแต่ น้ำอัดลม ชาเขียว น้ำผลไม้ ธุรกิจBattery หรือ อาหาร เพราะว่าธุรกิจที่มีสินค้าทนแทนมากนั้นจะประสบปัญหาในการปรับขึ้นราคาเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะจะส่งผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภคในการพิจรณาเลือกซื้อสินค้า เพราะหากผู้บริโภคมีทางเลือกที่ใกล้เคียงกันและถูกกว่าก็คงจะเลือกที่ถูกกว่า ฉะนั้นเราควรลงทุนในบริษัทที่มีสินค้าทดแทนน้อย

พลังที่สี่ก็คือ อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ เราต้องดูว่าบริษัทที่เราจะลงทุนนั้นมีผู้ซื้อมากน้อยขนาดใหน

เช่น ถ้าบริษัทที่เราสนใจนั้นมีผู้ซื้อรายใหญ่เพียง1-2ราย ดังเช่น ธุรกิจที่รับจ้างผลิต ชิ้นส่วนต่างๆ ในไม่ช้าก็เร็วบริษัทก็จะถูกบีบให้ลดราคาเพราะว่ามีอำนาจต่อรองน้อยแต่ถ้าเป็นธุรกิจทีมีลูกค้าเป็นล้านๆคน ดังเช่นธุรกิจอุปโภคบริโภค เช่น MK SE-Ed BIG C LOTUS NIKIE อำนาจต่อรองก็จะตกเป็นของบริษัททันที ก็ลองคิดดูสิครับว่า คงไม่มีใครกล้าไปทาน MK หรือ shopping ที่ BIG C แล้วต่อรองให้ลดราคาจากราคาที่บริษัทกำหนดหรอกครับ หากหาญกล้าไปต่อราคาดู ผมคิดว่าถ้าเค้าไม่ไล่ให้ไปซื้อที่อื่น ก็อาจโดนยามไล่ออกมาจากร้าน

อำนาจต่อรองผู้ซื้อจะมีผลอย่างมากในการกำหนดราคาของบริษัท ในกรณีที่บริษัทมีอำนาจต่อรองสูง หากบริษัทต้องการปรับขึ้นราคาก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งก็จะส่งผลให้อัตรากำไรของบริษัทไม่ลดลงเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังเช่น ธุรกิจ MK ที่ปรับราคาเป็ด หมู เพิ่ม คนก็ยังแน่นร้านเหมือนเดิม ทีนี้พอจะมองเห็นภาพแล้วใช่ใหมครับ หากเรารู้เช่นนี้แล้วเราควรคำนึงถึงพลังผลักดันข้อนี้ให้มากเลยนะครับ เพราะมันจะส่งผลต่อกำไรของบริษัทที่เราจะลงทุนครับ


พลังข้อที่ห้าคืออำนาจต่อรองของผู้ป้อนวัตถุดิบหรือผู้ขายผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัท ความหมายหลักๆก็คือถ้าเขามีอำนาจต่อรองสูง เช่น สินค้าของเขาเป็นที่ต้องการและมีผู้ขายน้อย บริษัทก็มีอำนาจในต่อรองน้อย ดังเช่นหากผู้ป้อนวัตถุดิบจะปรับขึ้นราคา บริษัทก็ไม่มีอำนาจในการต่อรองใดๆเลยหรือ ต้องการขอ Credit Term ที่ยาวขึ้นก็ตาม

แต่ถ้ามีผุ้ป้อนวัตถุดิบมากรายอำนาจต่อรองก็เป็นของบริษัทเพราะบริษัทมีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้ค้ารายอื่นถูกใหมครับ ฉะนั้นหากผู้ป้อนวัตถุดิบปรับขึ้นราคาบริษัทก็สามารถเจรจาต่อรองหรือหากไม่เป็นผลบริษัทก็ยังสามารถที่จะเปลี่ยนไปใช้ผู้ป้อนวัตถุดิบรายอื่นได้ ฉะนั้นพลังข้อนี้จะมีผลต่อการควบคุมต้นทุนของบริษัท หากบริษัทมีพลังข้อนี้ก็จะส่งผลให้ต้นทุนอยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ครับ

การวิเคราะห์โดยใช้พลังทั้ง 5 นี้ใช้เป็นตะแกรงร่อนเพื่อหาธุรกิจที่มี DCA (Durable Competitive Advantages ) ซึ่งก็คือธุรกิจที่มีคุณภาพสูงและควรเป็นธุรกิจที่ผ่านตะแกรงร่อนทั้ง5ข้อนี้ครับ ซึ่งถ้าเราพบธุรกิจที่ผ่านทั้ง 5 ข้อนี้ก็หมายความว่าเราพบธุรกิจที่มีศักยภาพในการทำกำไรสูงแล้วนั่นเอง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพนั้นต้องทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์งบการเงินนะครับแต่อยากจะให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมากกว่างบการเงินครับ ส่วนงบการเงินนั้นควรใช้เป็นข้อมูลใว้ Support ความคิดเราว่าถูกหรือไม่ถ้าถูกข้อมูลเชิงคุณภาพจะสอดคล้องกับงบการเงินครับ อีกเหตุผลก็คือสมัยนี้จำนวนของValue Investor เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้นถ้ารองบการเงินออกแล้วซื้อหุ้นอาจจะช้าเกินไปครับ

เรื่องต่อมาที่ผมจะกล่าวถึงคือ เรื่องของ ผู้บริหาร ครับ บริษัทที่น่าลงทุนนั้นผมมองว่าผู้บริหารนอกจากเก่งแล้วต้องมีความซื่อสัตย์สูงครับเพราะไม่เช่นนั้นความเก่งนั้นจะกลับมาทำร้ายบริษัทเอง วิธีการดูว่าผู้บริหารนั้นซื่อสัตย์ หรือไม่ โดยคร่าวๆนั้นดูได้ด้วยการ อ่านครับอ่านให้มากเท่าที่จะทำได้ อ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่ผู้บริหารให้ Interviewไว้ครับแล้วดูเหตุการณ์ว่าตรงหรือใกล้เคียงกับที่เค้าพูดหรือเปล่า

สมัยนี้เรามี Search Engine เราก็สามารถใช้มันให้เป็นประโยชน์ได้ด้วยการ Search ใน Google ครับ พิมพ์ ชื่อ นามสกุล ผู้บริหาร ลงไปเดี๋ยวก็มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องออกมาไม่มากก็น้อย หรือ เราสามารถรับชมทางTV ก็ได้เพราะมักจะมีการ Interview อยู่บ่อยๆในช่อง 9 ช่วงบ่ายๆครับ ผมเคยเจอผู้บริหารบางท่านที่พูดเก่งมากๆ ไม่รู้ว่าเคยเป็นนักขายมาก่อนหรือเปล่า แต่ ผลการดำเนินงานออกมาตรงข้ามกับที่คุยเอาไว้อย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นเราต้อง Questions ในสิ่งที่เค้าพูดไว้เยอะๆครับ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆครับ ในส่วนของงบการเงินนั้นถ้าบริษัทที่เราสนใจ มีรายการที่เรียกว่า รายการระหว่างกัน ซึ่งอ่านได้จาก หมายเหตุประกอบงบการเงิน นะครับก็พึงสังวรไว้ได้เลยว่าอาจมีการผ่องถ่ายเงินเกิดขึ้น หรือ อะไรที่ทุจริต ได้ครับ รวมทั้งที่ดินร้างเยอะๆก็ตาม เพราะเป็นกลในการ โอนเงินออกจากบริษัท ครับ

สรุปแล้วการวิเคราะห์เชิงคุณภาพนั้นควรมองไปในอนาคตนะครับ จะให้ดีมองตั้งแต่ 5ปีขึ้นไปว่าธุรกิจที่เราสนใจนั้นจะยังดำเนินกิจการอยู่หรือไม่ ถ้าคิดว่าอยู่แน่ๆเราก็สบายใจที่จะถือได้แต่เรื่องการขายหุ้นก็แล้วแต่บุคคลนะครับถ้ามันเกินมูลค่า หรือ เจอตัวที่ผลตอบแทนสูงกว่าและความเสี่ยงต่ำกว่าก็อาจขายไปก่อนก็ได้ เรื่อง Trade หุ้นกับวิสัยทัศน์ไม่ควรเอามาปนกันครับ 5 Forces ก็เป็นตะแกรงร่อนชุดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมากครับ หรือ ใครต้องการลงลึกไปในตัว Product ของบริษัทก็ได้นะครับก็ยังมี ตะแกรงร่อน เช่น 4Ps หรือ จะทำ SWOT ก็ย่อมได้ครับ

ชําแหละ P/E Ratio


ในการวัดมูลค่าหุ้นนั้นมีอยู่ด้วยกันหลักๆอยู่2วิธี คือ Discounting model กับ Relative model วิธีDiscountingนั้นก็คือวิธีที่ใช้วัดมูลค่าบริษัทจากกระแสเงินสด ที่เรียกกันว่า Discount cash flow model กับ วัดมูลค่าจากเงินปันผลจ่าย ซึ่งก็คือDividend discounted model ส่วน วิธี Relative ก็คือการวัดมูลค่าหุ้นเชิงเปรียบเทียบโดยใช้อัตราส่วนๆที่นิยมใช้กันก็คือ P/E P/BV ratio ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงวิธีประเมิณหุ้นด้วย P/E เพราะว่าP/E นั้นเป็นอัตราส่วนที่บอกว่า ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคานี้มันจะคืนทุนเรากี่ปี อีกทั้งP/Eนั้นเต็มไปด้วยหลุมพราง ก่อนนําอัตราส่วนนี้มาใช้ต้องทําการปรับปรุงตัวเลขก่อนครับ ทั้งนี้ผู้อ่านสามารถหาค่าอัตราส่วนนี้ได้จากหนังสือพิมพ์หรือ websiteของ settrade นะครับ แต่ดูได้คร่าวๆเท่านั้นเพราะมันไม่ใช่ตัวเลขที่ถูกต้องครับ ทําไมผมถึงบอกว่าไม่ถูกต้องเพราะค่าeps (กําไรต่อหุ้นสามัญ)ในP/Eนั้นเป็นกําไรต่อหุ้นที่ยังไม่ได้มีการปรับให้เหมาะสมครับ ถ้าผู้อ่านๆหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับแล้วลองสังเกตุดีๆก็จะพบว่าหนังสือพิมพ์ต่างสํานักพิมพ์และหุ้นตัวเดียวกันทําไมหนังสือพิมพ์ถึงให้ค่าP/E ratioที่ต่างกันหละครับ ก่อนอื่นผมจะพูดถึงแบบของP/E ratio ผมเชื่อว่ายังมีผู้อ่านอีกมากที่ไม่ทราบว่าP/Eนั้นมีหลายแบบ หลังจากนั้นจะกล่าวถึงวิธีการปรับค่าครับและใช้ P/E โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ 3 แบบครับ

แบบที่ 1 เรียกว่า Current P/E ซึ่งก็คือ ราคาหุ้นในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิต่อหุ้นของปีล่าสุด

ซึ่งอัตราส่วนนี้มักจะพบในหนังสือพิมพ์ และต่างสํานักพิมพ์ก็อาจจะให้ค่าต่างกันเพราะว่าบางสํานักพิมพ์เค้าอาจจะปรับeps มาให้แล้วแต่บางก็ไม่ปรับ เห็นอย่างนี้แล้วเราต้องทําการปรับปรุงตัวeps เองครับCurrent P/Eนั้นค่อนข้างจะล้าสมัยเนื่องจากตัว eps เป็นกําไรในอดีตซึ่งจะทําให้หุ้นที่กําลังมีกําไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีค่าP/Eที่ดูตํ่าเกินไป ในขณะหุ้นที่มีกําไรสุทธิลดลงอย่างรวดเร็วมีค่าP/Eดูสูงเกินไป ต่อมาจึงมีคนปรับตัวเลขนี้ให้เป็น

แบบที่2 คือ Trailing 12 month P/E ซึ่งหาได้จากราคาในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิของ4ไตรมาสล่าสุดเช่น ราคาหุ้นของเราอยู่ 100 บาท และ ขณะนี้ก็เป็นเดือนสิงหาคม เราก็นํา กําไรสุทธิของไตรมาส 3 4 ปีที่แล้วมา ก็จะได้ 5 7 และก็นํากําไรสุทธิของไตรมาส 1 2ปีนี้มา เช่น 3 5 นํามาบวกกัน 5+7+3+5ก็จะได้ 20บาทต่อหุ้นแล้วนํา100หาร20ก็จะได้ P/Eที่ 5 เท่า จึงทําให้ค่า P/Eชนิดนี้ทันสมัยมากกว่าCurrent P/Eแต่ทั้งนี้P/Eที่เราหาได้ก็มีจุดอ่อนที่สําคัญมากก็คือเป็น P/Eที่เราคิดมาจากepsที่เป็นอดีต ซึ่งepsที่เป็นอนาคตไม่จําเป็นต้องได้เท่ากับอดีตเพราะอาจได้มากกว่าหรือน้อยกว่าก็เป็นได้ทั้งนี้ การลงทุนนั้นเราลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในอนาคตไม่ใช่อดีต เราจึงควรที่ใช้ eps อีกแบบคือ

แบบที่ 3 คือ Forward P/E ซึ่งคํานวณมาจากราคาในปัจจุบันหารด้วยกําไรสุทธิในอนาคตที่ตลาดคาดการณ์

ซึ่งก็คือกําไรสุทธิในปีถัดไป ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักได้ทําการประมาณการเอาไว้แล้ว หรือหากเราลงทุนในบริษัทที่ยังไม่มีบทวิเคราะห์ ก็ให้ผู้อ่านประมาณอัตราการเติบโตในปีถัดไปจากการเติบโตแบบทบต้น

ของกําไรต่อหุ้นในอดีตเช่น 3ปีที่ผ่านมาโตแบบทบต้น 25% และกําไรปีล่าสุดก็คือ 1 บาทเราก็พยากรณ์ว่า

ปีถัดไปกําไรต่อหุ้นก็น่าจะราวๆ1.25 บาท ทั้งนี้ผู้อ่านต้องเข้าใจธุรกิจที่เราลงทุนเป็นอย่างดีจึงจะประมาณได้ใกล้เคียง เพราะบางอุตสาหกรรมที่เป็นcycle นั้นกําไรในปีถัดไปอาจลดลงก็ได้เมื่ออุตสาหกรรมผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว

เรื่องนี้ต้องระวังนะครับ

ตอนนี้คงรู้แล้วว่าP/Eมีหลายแบบ ต่อไปผมจะพูดถึงการปรับค่าeps ซึ่งเรามักจะพบตัวเลขนี้ในBottom line ของงบกําไรขาดทุน ซึ่งก่อนที่เราจะนํามาใช้ ให้เราทําการตรวจดูว่าบริษัทที่เราสนใจนั้นมีการเพิ่มทุนโดยออกwarrantอยู่หรือไม่ เช่น มีหุ้นสามัญอยู่ 800 ล้านหุ้น และออกwarrant ด้วย

แต่เมื่อใช้สิทธิแปลงwarrantทั้งหมดแล้วจะได้ 200 ล้านหุ้นสามัญ หากเป็นเช่นนี้หุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทจึงไม่ใช่ 800 ล้านหุ้นแต่ะจะเป็น 1000ล้านหุ้นสามัญ ซึ่งจะส่งผลให้กําไรต่อหุ้นเจือจางลงเพราะตัวหารเพิ่มขึ้นครับ

ต่อมาเราจะปรับepsโดยดูว่าบริษัทนั้นมีรายได้ กําไร รวมถึงค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่ปกติรวมอยู่ด้วยหรือไม่ เช่น ไฟใหม้ หรือ กําไร จากการขายสินทรัพย์ถาวร และให้ปรับปรุงepsด้วยการ หัก รายได้ กําไร ที่ไม่เกิดขึนบ่อย และ บวก ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย กลับเข้าไปในกําไรสุทธิ เราปรับเช่นนี้เพื่อที่จะเราจะได้ค่ากําไรที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของบริษัทในสภาวะปกติ หลังจากเราทําการปรับปรุงตัวเลขกําไรสุทธิแล้วเราก็นํามาหารจํานวนหุ้นทั้งหมดที่รวมหุ้นจากการใช้สิทธ์แปลงสภาพแล้ว เราก็จะได้กําไรต่อหุ้นที่ควรจะเป็นซึ่งบางบริษัทที่ออกwarrantเยอะๆพอเราปรับตัวเลขแล้วค่าP/Eที่ได้ หลังจากปรับจะมีค่าสูงขึ้นมากจากก่อนปรับเพราะว่าก่อนปรับเรายังไม่ได้รวมwarrantเข้าไปนั่นเองครับ

ทีนี้พอเราได้ค่าP/Eมาแล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าถูกหรือ แพง ซึ่งผมเคยกล่าวไว้แล้วในบทความงบกระแสเงินสดแล้วว่า P/Eตํ่าไม่ได้แปลว่าหุ้นถูกเสมอไปหรือP/Eสูงก็ไม่ได้แปลว่าแพงเสมอไปหุ้นบางตัว P/Eตํ่ามันก็ตํ่าของมันอยู่แบบนั้นผ่านไป กี่ปีก็ตํ่า หรือ สูงก็สูงตลอด เช่นหุ้นที่ P/Eสูงๆ17 เท่า ก็เพราะว่ากําไรของมันเติบโตขึ้นตลอดพอกําไรโตราคาหุ้นก็จะเพิ่มตามและเพลอๆแซงตัวepsไป

ก็ทําให้ P/Eมันสูงอยู่แบบนั้นตลอดตราบเท่าที่มันยังโต กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับหุ้นที่ P/Eตํ่าตลอดแต่หากตรึงค่า Pเอาไว้แล้ว eps เราโตเรื่อยๆ P/Eของเราก็จะลดลง นี่คือปัญหาคร่าวๆที่เกิดกับการใช้P/E

จึงมีเซียนหุ้นท่านนึงนามว่า Peter Lynch เสนอให้ใช้ค่า PEG ซึ่งก็คือ P/E หารด้วย Growth ในอนาคต

ของบริษัทเช่น P/E 15 เท่าและ Growth 20 % เราก็จะได้ค่าPEGที่ 0.75 ซึ่งหมายความว่าถ้าค่าตํ่ากว่า1ก็แปลว่าถูกเมื่อเทียบกับการเติบโตของกําไร PEGจึงเป็นอัตราส่วนที่ผู้อ่านควรใช้ควบคู่กับP/Eครับและหากเราอยากรู้ว่าผลตอบแทนเบื้องต้นเป็นเท่าใหร่ก็ใช้ค่า EP ก็คือ P/Eกลับหัว ตัวอย่างเช่น ราคาหุ้น 100 บาท eps 20 บาท เราจะได้ค่าepเท่ากับ 20% หรือ P/E ที่ 5 เท่า นั่นเองและเราไม่ควรนําP/Eของบริษัทเรามาเทียบกับค่าP/Eเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเพราะว่าบริษัทแต่ละบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนที่ต่างกันนั่นเอง แต่เราสามารถเทียบกับบริษัทที่ดําเนินกิจการคล้ายๆหรือเหมือนกับของเราได้ เช่นเทียบหุ้น centel กับ mint เนื่องจากดําเนินกิจการเหมือนๆกันและโครงสร้างเงินทุนก็ยังคล้ายกันอีก

สรุปแล้วการวัดมูลค่าหุ้นโดยใช้P/E ควรทําการปรับปรุงตัวเลขทุกครั้ง และไม่ควรใช้P/Eตัวเดียวโดดๆ

แต่ควรวิเคราะห์ทั้งธุรกิจและงบการเงินให้ทะลุแบบถ่องแท้และจากนั้นจึงใช้P/E ratio และ P/BV เพื่อเปรียบเทียบความถูกความแพงของหุ้นที่เราสนใจกับบริษัทที่มีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกันและมีโครงสร้างเงินทุนคล้ายๆกัน ทั้งนี้เราต้องมีความรู้ในธุรกิจที่เรากําลังจะลงทุนดีจึงจะสามาถบอกได้ว่า P/E ถูกหรือแพงครับไม่มีกฎตายตัวบอกว่าP/Eที่ถูก หรือ แพง ควรจะเป็นเท่าใหร่เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ เราจึงควรรู้ซึ๊งในธุรกิจที่เราลงทุนครับ

หุ้น เป็น Dynamic

ลักษณะของหุ้นนั้นจะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพราะข้อมูลนั้นเปลี่ยนตลอดเวลา หุ้นดีที่ไม่ดี ในอดีตอาดีในปัจจุบันส่วนหุ้นที่ดีในอดีตอาจจะไม่ดีในวันนี้ก็ได้ เพราะว่า ผลการดำเนินงานของหุ้นนั้นแปลเปลี่ยนตาม Economic Cycle และ ปัจจัยต่างๆ ดังนั้น ผมจะประเมินราคาหุ้น และ ปรับ Intrinsic Value อยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาก็จะใส่ค่าไปในประมาณการ ส่งผลให้ ค่า PE PBV Dividend Yield เปลี่ยนไปตามข้อมูล บางคน บอกว่าเลือกหุ้นตามหลัก Value Investment แล้วทำไมไม่กำไร เพราะ ตอนเลือก PE PBV ก็ต่ำ ปันผลก็จ่าย แต่ เค้าไม่ได้คำนึงถึงว่า อัตราส่วนที่ใช้เลือกนั้นเป็น อดีต Historical แต่ราคาหุ้นมักจะสะท้อน อนาคต หมายความว่าผลการดำเนินงานปีนี้อาจจะแย่ก็ได้เนื่องจากเหตุต่างๆเช่น ขาลงของอุตสาหกรรม คู่แข่งเพิ่มขึ้น มีสินค้าทนแทนเป็นต้น ดังนั้นเราควร ประมาณการ กำไรในอนาคต แล้วใช้ค่า Forward ต่างๆ Peter Lynch เคยกล่าวไว้ว่า การดูตัวเลขในอดีตเหมือนกันกับขับรถโดยมองกระจกหลัง เค้าจะไม่ให้นำหนักกับข้อมูลในอดีตมากเท่ากับปัจจุบันและในอนาคต ยก ตัวอย่าง หุ้น CPALL ปี 2553 มี EPS 1.48 บาทหุ้น ราคา ณ ปัจจุบัน 44 บาท จะได้ Historical PE 30 เท่า จึง ดู เหมือนแพงมากแต่ทำไม ราคาหุ้นถึงยืนเหนือ 40 บาทได้เพราะตลาดมองอนาคต โดย คาดการณว่า ปี 2554 นั้น EPS ของ CPALL จะอยู่ที่ 1.8 บาท PE ก็จะลดลงเหลือประมาณ 24 เท่า (การที่ตลาดให้ PE หุ้นตัวไหน ต่ำ สูง นั้นมีปัจจัยมากมายไว้จะเขียนเล่าให้ฟังทีหลังครับ )

สังเกตุให้ดีสิหุ้น 1 ตัว ทำไม นักวิเคราะห์ถึง ออกบทวิเคราะห์อยู่เรื่อยๆเพราะมันมีข้อมูลปัจจัยใหม่เข้ามาสม่ำเสมอดังนั้นเราไม่ควรไปยึดติดว่าหุ้น ตัวนี้มูลค่า ควรเป็นเท่านั้นเท่านี้

Concept คือเมื่อเราซื้อหุ้น ซึ่งเปรียบเสมือน Cash Machine ปีที่แล้วผลิตเงิน ได้ 10 บาท ขายCash Machine 100 บาท คิดเป็น P/E 10เท่า แต่ปัจจุบัน ผลิตเงินได้ 15 บาท ราคา Cash Machine ก็ควรซื้อขาย ที่ 150 บาท ถูกไหมครับ เพราะผลิตเงินได้เพิ่มขึ้น เหตุใดควรซื้อที่ ราคา 100 บาท แต่หาก สมมุติวันนี้ Cash Machine ผลิตเงินได้แค่ 8 บาท ราคาขาย Cash Machine ก็ควรลดมาอยู่ที่ 80 บาท ถูกไหมครับ เพราะผลิตเงินได้น้อยลง สรุป Intrinsic Value (มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น)นั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามผลดำเนินงานของ บริษัท ครับ

ที่สำคัญกว่าคือ เราควรซื้อหุ้นที่เรามอง Trends ของ Earnings ว่ากำลังอยู่ ขาขึ้น เช่น มีการขยายสาขา เรื่อย Same Store Sales เพิ่มขึ้น Gross Profit Margin ดีขึ้น เพราะ ราคา Cash Machine ของเราจะมีแต่เพิ่มขึนในระยะยาวครับ